10/7/15

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินอาหารหลักของชาวอีสาน

12ภาคอีสานมีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่ เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดม สมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ด้วยที่มีความแห้งแล้ง ขาด แคลนน้ำ ทำให้เกิดความเชื่อ และประเพณีเกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น งานบุญบั้งไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล สำคัญ หรือด้วยเหตุผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีกลุ่มคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาจากดิน แดนใกล้เคียง มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้น เช่น การพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วยการแสดงหมอลำการร้องกันตรึม เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินอาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยว เช่นเดียวกับชาวเหนือ สิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำและเก็บ อาหารจึงเหมือนกัน ส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้าหรือน้ำปลาร้ามาเป็นเครื่องปรุงรสแทนน้ำ ปลาในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ลาบ ก้อย หมก ต้ม คั่ว แกง อ่อม และอาหารเกือบทุกมื้อต้องมีแจ่วที่ใส่น้ำปลาร้าเป็น เครื่องปรุง ความเคยชินในการรับประทานอาหารของชาว อีสาน คือ ชอบรับประทานอาหารดิบๆ ด้วยความเชื่อว่าจะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่อาหารแบบนี้มีพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นโรคพยาธิ และสุขภาพไม่ค่อย ดี ทางการจึงรณรงค์และส่งเสริมให้ชาวอีสานมีความรู้เรื่อง โภชนาการ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมในการรับประทานให้ถูกสุขลักษณะวัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินของชาวอีสาน

ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศและต่างประเทศ ที่มีชาว อีสานทำงานอยู่ เห็นได้จากการนำปลาร้ามาแปรรูปเป็นปลาร้าผง ปลาร้าตากแห้ง เพื่อส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานชาวอีสานและชาวลาวอยู่มาก ปลาร้าจึงเป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้า ประเทศอีกชนิดหนึ่ง วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการปลูกเรือนในลักษณะชั่ว คราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

08/27/15

ประวัติศิลปะไทยที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค

10

ศิลปะไทย เป็นศิลปะประจำชาติของชาวไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค เช่น อิทธิพลของอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับ พุทธศาสนาดินแดนนี้นามว่า “สุวรรณภูมิ” เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่า “เมืองทอง” ดังกล่าว จากหลักฐานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในดินแดนไทยแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ยุคหินเก่า ระยะเวลาประมาณห้าแสนปีถึงห้าหมื่นปี พบเครื่องมือหิน ที่จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย น่าน และลพบุรี เครื่องมือหินที่พบได้แก่ ขวานหินกะเทาะจากก้อนหินอย่างหยาบๆ ยุคหินกลาง ระยะเวลาประมาณหนึ่งหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินกะเทาะในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี เครื่องมือมีความประณีตงดงามมากขึ้นกว่าเดิม ยุคหินใหม่ ระยะเวลาประมาณห้าหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยรวมกันเป็นหมู่บ้าน บนหินใกล้แหล่งน้ำ รู้จักทำขวานหินให้ประณีตงดงาม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ เครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในประเทศไทย คือ บรรพบุรุษของคนไทยเราในปัจจุบัน เครื่องมือที่พบ ได้แก่ ปลายหอก กำไลทำด้วยหิน หม้อหุงข้าว ภาชนะใส่อาหาร มีลวดลายเชือก ลายเสื่อ และลายจักสาน เป็นต้น

ยุคโลหะ ระยะเวลาประมาณแปดพันปีถึงสองพันปีพบเครื่องโลหะและเครื่องดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณเจ็ดพันปีเศษ ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ กลองมโหระทึก อาวุธ เครื่องใช้ และเครื่องประดับพบภาพเขียนสีและภาพแกะสลักผนังถ้ำ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคนี้ เช่น ถ้ำเขาเขียว ภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี และทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงาเป็นต้น ภาพเขียนและภาพแกะสลักบนผนังถ้ำ(Cave arts) ถือเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดเป็นวัฒนะธรรมการสร้างอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สีที่ใช้จะเป็นสีของดิน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีดำ เขียนเป็นภาพสัตว์ ลายเลขาคณิต และภาพคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย  แบ่งตามหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ดังนี้ศิลปะรุ่นเก่า จากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ศิลปะและวัฒนธรรมทางศาสนามีผู้นำเข้ามา เช่น พระพุทธรูปขนาดเล็กหล่อด้วยสำริด เป็นศิลปะอมราวดี และพระพุทธศิลปะคุปตะของอินเดีย จึงเข้าใจว่าเป็นตัวอย่างในการสร้างพระพุทธรูป

07/20/15

วัฒนธรรมและศิลปะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวง

ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาตินั้น ปรากฏว่ามีอยู่หลายสมัยที่พุทธปัญญาของมนุษย์ไม่มีความสูงส่ง แต่ทว่ามีกำลังจิตที่เข้มแข็ง มีบางสมัยที่มนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวง แต่มนุษย์กลับสูญเสียความเข้มแข็งทางด้านกำลังจิตไป

ในยุคเรานี้ จะเห็นได้ว่าสมองมนุษย์ได้สร้างความสำเร็จในกิจการต่างๆ อย่างน่าชื่นชม แต่เมื่อพิจารณาในแง่ความก้าวหน้าของจิตใจแล้ว เราก็ยังอยู่ในระดับต่ำมาก มนุษย์ได้ค้นพบพลังงานปรมาณู ส่งดาวเทียมขึ้นไปสู่ห้วงอวกาศเพื่อเป็นบริวารของดวงอาทิตย์และได้บรรลุผลทางความเร็วอันน่าตื่นใจด้วยเครื่องกล สิ่งที่มหัศจรรย์ทั้งหลายแหล่ซึ่งเกิดจากพลกำลังและความรุนแรงอันมหาศาลนั้น แทนที่จะให้ความอภิรมย์กลับบดขยี้จิตใจของเราลงไป

ชีวิตได้กลายเป็นสิ่งที่ปราศจากเนื้อหา และดูเหมือนว่าประเทศยิ่งเจริญขึ้นเท่าใด ประชาชนพลเมืองก็ยิ่งจะต้องทำงานหนัก เพื่อชดใช้มวลแห่งความต้องการอันเป็นสิ่งเทียมมากขึ้นเท่านั้น ตั้งแต่เช้าจนค่ำ ประสาทของเราเต็มไปด้วยความเคร่งเครียดไม่เคยผ่อนคลาย มิฉะนั้นก็หาไม่พอใช้พอกิน เราว้าวุ่นมาก จนวันหนึ่งๆ ไม่มีเวลาแหงนดูฟ้าว่ามีเมฆหรือแจ่มใส เราผละหนีจากธรรมชาติอันเป็นดุจมารดาที่ให้แต่สิ่งดีสิ่งงามแก่ชีวิตเราไปอย่างผิดทาง ก็เพื่อที่จะสร้างโลกแห่งความหวาดกลัวและความเกลียดชัง สิ่งที่ร้ายที่สุดก็คือเจ้าลัทธินิยมวัตถุ อันน่าพรั่นพรึงนั้นกำลังข่มขู่มนุษย์ทุกรูปทุกนามไปทุกหนแห่ง ปัจจุบันนี้มนุษย์พากันคิดว่า อารมณ์ รู้สึกนึกคิดที่กอปรด้วยความเมตตาสงสารรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้นเป็นสิ่งผิด มนุษย์ได้รับการสอนให้เป็นผู้ปราศจากความเมตตาปราณี ให้มีแต่ความโลภหลงและยึดวัตถุเป็นที่ตั้ง

การที่จะสร้างแนวต่อต้านลัทธิวัตถุนิยมนั้น ก็ต้องอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการ คือ หลักธรรมอันบริสุทธิ์ทางศาสนา ประการหนึ่ง และศิลปะ อีกประการหนึ่ง แท้จริงนั้น จากประจักษ์การทั้งหลายแหล่ ศิลปะก็คืออาหารของจิตใจและพุทธิปัญญาของมนุษย์เรา ไม่ว่าวรรณกรรม ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และมัณฑนศิลป เราได้ประสบแต่ความเพลิดเพลินเจริญใจ ความสงบเยือกเย็น และบ่อเกิดของความหวังอันสูงส่ง ศิลปะทำให้เราเป็นคนดี รักใคร่กันและกัน ทำให้เรามีภาวะเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ฉะนั้น ศิลปะจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียมิได้สำหรับชีวิตที่มีวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งบรรดาบุคคลที่เจริญแล้วทั้งหลายต่างสนับสนุนส่งเสริมทั้งในด้านศีลธรรมและด้านการเงินอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงได้มีการเปิดการแสดงแข่งขันศิลปะกัน ทั้งภายในประเทศชาติของตนเองและระหว่างนานาชาติขึ้นทุกๆรอบปี ทุกบ้านทุกเมืองมีการสร้างอาคารขึ้นเป็นศูนย์กลางศิลปะ สร้างหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะขึ้นสำหรับประชาชนได้ชื่นชมสมบัติมีค่ายวดยิ่งของชาติ บรรดาประเทศต่างๆทั้งหลายมีการตกแต่งสถานที่ราชการด้วยงานจิตรกรรมและประติมากรรม มีการส่งเสริมศิลปกรรมชิ้นสำคัญๆ ระหว่างประเทศไปแสดงยังประเทศอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนความชื่นชมในรสนิยมทางศิลปะซึ่งกันและกัน การกระทำเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยศรัทธาปสาทะ กอปรด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะรักษาไว้ซึ่งแสงเพลิงอันรุ่งโรจน์ทางพุทธิปัญญาให้มีชีวิตอยู่ได้ ในยุคที่มนุษย์กำลังตกอยู่ในห้วงอันตรายที่จะกลายเป็นทาสของสิ่งผูกมัดทางกาย

ศิลปะที่เกี่ยวกับศาสนาในประเทศไทยเรานั้น ถ้ามิได้อยู่ที่เหตุผลทางด้านความต้องการหรือเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ก็กลายเป็นศิลปะเกี่ยวกับการค้าไป เมื่อศิลปินไทยเริ่มเนรมิตงานศิลปะร่วมสมัยปัจจุบัน (กับนานาประเทศ) เป็นการส่วนตัว จึงมีน้อยคนที่มีความสนใจเลื่อมใสในกิจกรรมทางพุทธิปัญญาใหม่นี้ ตรงกันข้าม โดยเหตุผลทางความคิดและความรู้สึกตามประเพณีนิยม คนส่วนมากไม่เข้าใจว่า ศิลปะนั้นคือส่วนหนึ่งของชีวิตทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งไม่อาจหยุดนิ่งอยู่ได้ตามสภาพเดิม กล่าวคือ ต้องแปรเปลี่ยนไป โดยประการฉะนี้เอง ความคิดสร้างงานศิลปะอันเป็นต้นฉบับไม่ซ้ำกับใครของศิลปินปัจจุบันจึงเกิดขึ้น ซึ่งแม้พิจารณาในแง่ศิลปะจะไม่ถึงขั้นเสร็จสมบูรณ์ ก็ยังมีคุณค่ากว่างานออกแบบหรือเลียนแบบศิลปะโบราณ ซึ่งได้กระทำซ้ำซากกันมานับเวลาเป็นศตวรรษๆ เพื่อที่จะยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ จำต้องกล่าวถึงภาพเขียนบรรยายเรื่องรามเกียรติ์หรือชาดกว่า ภาพเขียนเหล่านั้นมิใช่ศิลปะเนรมิต ย่อมเป็นสิ่งแน่ว่าศิลปินอาจเขียนหรือปั้นหรือแกะสลักลายเส้นเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่ตนชอบ มิฉะนั้นแล้ว เราก็ตกแต่งประดับประดาเคหะสถานบ้านเรือนด้วยรูปถ่ายจากศิลปกรรมชั้นสูงของโบราณเสียจะดีกว่า

06/26/15

ศิลปะกลายเป็นของโชว์ประเภทหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเงินและการศึกษา

14

ศิลปะจะเพื่ออะไรก็ตามถ้าหากศิลปะนั้นไม่มีชีวิตศิลปะนั้นก็ไม่มีพื้นที่ที่จะรับใช้อะไรทั้งสิ้นประวัติศาสตร์ศิลปะในบ้านเรายังไม่มีภาพรวมที่ทำให้มองเห็นความเป็นมาและมีบทสรุปชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะของทางตะวันตกแล้ว เราจะเห็นว่าของเขาจัดเป็นระบบและมีข้อมูลชั้นต้น ชั้นสอง ชั้นสาม ให้ศึกษารับรู้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวไม่ว่าจะเป็นสมัยเก่าหรือสมัยใหม่ แต่ของเรา เก่าก็ยังไม่เป็นระบบ ส่วนใหม่ก็กระจัดกระจายกันไปแบบตัวใครตัวมัน โดยมีคำว่า ใจรัก มาหล่อเลี้ยงให้หลอกตัวเองไปเรื่อยๆ เราไม่มีระบบในแง่การจัดหมวดหมู่ที่จะเชื่อมโยงกันให้เห็นภาพรวมทั้งหมด เอาแค่หอศิลป์ระดับชาติ หรือแม้แต่หอสมุดแห่งชาติก็มีปัญหา ทั้งในแง่นโยบายและตัวบุคคล ว่าไปแล้วโรงอาบอบนวด หรือร้านคาราโอเกะ ยังมีระดับของการจัดหมวดทางรสนิยมให้เห็นมากกว่าเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นว่าเป็นศิลปะมาแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน ดนตรีหรือวรรณคดีเข้าใจว่าศิลปะในอดีตนั้นมีลักษณะที่รับใช้สิ่งที่เรียกว่าอุดมคติมากกว่าศิลปะในปัจจุบันอุดมคติในที่นี้ อาจหมายถึง สวรรค์ โลกหน้า พระมหากษัตริย์หรือพุทธศาสนาหรืออะไรก็แล้วแต่ เห็นได้ชัดว่ามันถูกตีความเอาไปรับใช้อย่างแน่นอน ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน ศิลปะถูกมองว่าเป็นตัวสินค้าที่จะนำไปบริโภค ศิลปะตกอยู่ในวงล้อมของรสนิยมแบบคนชั้นกลาง เหมือนที่ครั้งหนึ่งศิลปะตกอยู่ในวงล้อมของกษัตริย์หรือบรรดาขุนนางผู้มีอำนาจ ศิลปะในปัจจุบันคือการบริโภคทางรสนิยมที่ถูกปลูกฝังด้วยค่านิยมและทัศนคติต่างๆ ร้อยแปด ศิลปะกลายเป็นของโชว์ประเภทหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเงินและการศึกษา

ฉะนั้นสรุปภาพกว้างๆ ของศิลปะจึงเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างแน่นอน แต่จะเกี่ยวข้องหรือมีความผูกพันในเชิงอุดมคติมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้ยังมีปัญหา  รายละเอียดการทำงานศิลปะในแต่ละสาขานั้น เมื่อพูดถึงศิลปะสมัยใหม่ หรือศิลปะที่ปรากฏในปัจจุบันนั้น ผมเข้าใจว่ามันมิได้เป็นมรดกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะอีกต่อไป ศิลปะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่วัง แม้ในปัจจุบันจะมีภาพออกมาว่าอยู่ที่พ่อค้า แต่พ่อค้าก็มิได้มีอยู่กลุ่มเดียวพวกเดียว พ่อค้าก็มีรสนิยมต่างๆ กันไป สิ่งที่ปรากฏในปัจจุบัน ศิลปะจึงแตกตัวไปหลายอย่าง และก็มีหลายสาขา มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อย่างที่บอกว่า ศิลปะนั้นส่องทางให้กัน ศิลปะกับสังคมปัจจุบันไม่มีการจำกัดทางรสนิยม คือมันไม่ได้ผูกขาดอยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งทั้งในเรื่องรูปแบบและเนื้อหา ผมไม่อยากเรียกว่ามันเป็นประชาธิปไตยทางศิลปะ แต่ก็ดูเหมือนมันเป็นเช่นนั้น จนบางครั้ง บางยุค จะกลายเป็นอนาธิปไตยเสียด้วยซ้ำ

05/26/15

วิวัฒนาการเจริญของศิลปะที่เป็นกิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์แสดงออกจากความรู้สึก

22

ได้มีผู้ให้คำนิยามเกี่ยวกับความหมายของศิลปะไว้มากมาย ทั้งนักปรัชญา นักวิจารณ์ และนักศึกษาศิลปะ เนื่องจากศิลปะเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์แสดงออกจากความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์จากมโนภาพที่ได้จากความจริงหรือจากจินตนาการที่คิดฝันขึ้น โดยใช้ภาษาของศิลปะเป็นสื่อกลางให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในอุดมการณ์นั้น งานศิลปะที่มีคุณค่าจึงสร้างสรรค์ขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ต้องใช้สติปัญญาอันสูงส่งจนเชื่อกันว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีสติปัญญาจนถึงขั้นที่สามารถจะแก้ปัญหาสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ทำให้ผลงานมีวิวัฒนาการเจริญต่อเนื่องเป็นลำดับ ความหมายของคำว่า “ศิลปะ” นั้นมีความหลากหลายตามการนิยามต่าง ๆ กันดังนี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2541 ให้คำจำกัดความว่า ศิลปะ หมายถึง ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ หรือเพื่อสนองตอบขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา

เนื่องจากธรรมชาติเป็นแหล่งทรัพยากรอันสำคัญของศิลปะ เป็นแหล่งกระตุ้นให้มนุษย์เกิดแรงดลใจในการสร้างสรรค์ศิลปวัตถุของมนุษย์ทุกแขนง เป็นแหล่งรวมความรู้สาขาต่าง ๆ ศิลปินเชื่อว่าธรรมชาติรอบตัวนั้น เป็นวัตถุแห่งความรื่นรมย์ยินดี สร้างความเบิกบานให้แก่ตนเองและผู้อื่นนานัปการ ศิลปินจึงพยายามถ่ายทอดความรู้สึกต่าง ๆ ดังกล่าว บันทึกเป็นงานศิลปะ เพื่อเป็นหลักฐานไว้ตามความสามารถและด้วยวัสดุที่เห็นว่าเหมาะสม หลักการทำงานของศิลปินในการทำงานศิลปะ จึงแตกต่างกันตามยุคสมัย เช่น สมัยหนึ่งเชื่อว่าศิลปะจะต้องเลียนแบบธรรมชาติ สร้างให้เหมือนธรรมชาติ ผลงานจะปรากฎเป็นเรื่องของธรรมชาติตามสิ่งที่ตาเห็นมากที่สุด ต่อมามีความเข้าใจว่า การเลียนแบบความเหมือนตามธรรมชาตินั้น ไม่มีความแน่นอน ไม่มีศิลปินคนใดสามารถถ่ายทอดความเหมือนนั้นได้ แนวโน้มการถ่ายทอดก็เปลี่ยนไปศิลปะเป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ รวมทั้งลักษณะความชำนาญของมนุษย์ ศิลปะจึงเป็นฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางเทคนิค ในการสร้างสรรค์และการแสดงออกของความคิดศิลปะจึงมีความหมายถึงการทำให้วิจิตรพิสดารต่าง ๆ รวมทั้งการใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

03/27/15

การใช้งานเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

เทคโนโลยีมีส่วนช่วยผลักดันและพัฒนางานศิลปะให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย สามารถทำให้งานศิลปะที่หลายคนว่าเป็นเรื่องยาก เปลี่ยนเป็นเรื่องที่ง่าย เทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตงาน อีกทั้งยังเพิ่มจำนวนปริมาณงานได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ถึงอย่างไรนั้นเทคโนโลยีก็ยังมีขีดจำกัดต่อการสร้างสรรค์งาน การที่เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยต่อเติมงานศิลปะในปัจจุบันหรือศิลปะประจำชาติเรานั้น มุมมอง จุดประสงค์ของการสร้างงานนั้นแตกต่างกันตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว อีกทั้งคุณภาพและคุณค่าของงานยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในงานศิลปะประจำชาติเรานั้นจึงต้องรู้จักที่จะนำมาใช้อย่างพอดี พอประมาณ ศาสตร์ศิลปะบางแขนง เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่สามารถนำมาช่วยเสริมเติมแต่งได้ เนื่องจากเป็นศิลปะเฉพาะทางซึ่งต้องใช้กรรมวิธีแต่โบราณสร้างงานขึ้นมา เพื่อรักษารูปลักษณ์ รูปแบบ วิธีการสร้างสรรค์เอาไว้ นี่ก็คือคุณค่าอันสูงยิ่งในงานศิลปะ ที่ศิลปะในปัจจุบันนั้นไม่มีและไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ ศิลปะในปัจจุบันยังนับว่ายังขาดคุณค่าและความงามที่แท้จริงของงานศิลปะ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญจึงต้องรู้จักกับจุดแห่งความพอดี เกิดจุดถ่วงความสมดุลในการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือการสร้างงานด้วยความเคารพต่อต้นแบบที่นำมาให้เกียรติต่องานหรือบุคคลที่เราได้นำผลงานมาคัดลอก  รู้จักการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมใช้ในทางศิลปะอย่างพอเพียง ใช้อย่างพอประมาณเพื่อไม่ให้ไปทำลายความงามของศิลปะ

ซึ่งจุดนี้เองตัวของผู้ผลิตสร้างสรรค์งานต้องพึงระลึกเสมอว่าการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยเสริมเติมแต่งในงานศิลปะ งานศิลปะไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิต มีจิตสำนึกในการสร้างงานอยู่ตลอดว่าไม่ใช้เทคโนโลยีทำลายหรือเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่จนทำให้งานขาดคุณค่าจากเดิมที่เป็นอยู่  นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาเติมเต็มและแก้ไขข้อบกพร่องของงานศิลปะ ในจุดที่ธรรมชาติชาตินั้นขาดหายไปหรือไม่สามารถสร้างและทดแทนขึ้นได้อีก ลดความฟุ่มเฟือยของมนุษย์เพื่อไม่ให้มนุษย์เกิดความบ้าคลั่งที่อยากจะได้เพียงฝ่ายเดียวจนทำให้เสียจิตวิญญาณไปในที่สุด

สุดท้ายนี้ใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการทะนุบำรุงงานศิลปประจำชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยสืบสานงานศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม และทำให้มนุษย์  เกิด เห็นคุณค่าความงาม ความหวงแหนศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ สืบไป

02/23/15

ความหลากหลายด้านวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในโลก

วัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในรูปของพฤติกรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียม หรือความเชื่อเท่านั้น แต่วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจสามารถกระทำการสร้างอำนาจหรือความชอบธรรมไดด้วย สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ต้องการคนที่เชื่อว่า คนทุกคนสามารถคิด เชื่อ และปฏิบัติแตกต่างกันได้ ในขณะเดียวกันการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างจะช่วยให้เราปรับตัวได้ดีขึ้น ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสทั้งในเรื่องสังคม เศรษฐกิจ เช่น การมีแรงงานข้ามชาติก็จะทำให้เราได้พัฒนาฝีมือแรงงานมากขึ้น การยอมรับว่าในสังคมเรามีเพศมากกว่าสองเพศก็จะทำให้เรามีเพื่อนมากขึ้น การยอมรับว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีลูกมีครอบครัวใหม่ได้ โดยปัญหาความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มที่มาจากหลายวิถีชีวิต บางครั้งเกิดเป็นความขัดแย้งในรูปแบบที่แสดงออกโดยตรง เช่น การวิวาท ดังปรากฏในมหาวิทยาลัยบ่อยครั้งในอดีต รวมถึงการกีดกันผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม เมื่อกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมาอยู่ร่วมกันนั้นจะมีวิธีการใดที่จะช่วยสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดสมานฉันท์แม้จะเป็นสังคมในระดับเล็ก

บางสังคมมีการแบ่งชนชั้นและคนที่อยู่ในชนชั้นต่ำที่สุด จะถือเป็นกลุ่มชนที่อยู่นอกระบบสังคมนั้น เช่น วรรณะจัณฑาลในอินเดีย เอทาหรือบูราคูในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น คนที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่ถูกสังคมระบุว่าเป็นคนชนชั้นต่ำ ถือว่าเป็นผู้ที่น่ารังเกียจและไม่ควรอยู่ร่วมสังคมกับสมาชิกส่วนใหญ่ จนกลายเป็นชนกลุ่มน้อยของสังคมนั้น เป็นผู้ที่ปราศจากศักดิ์ศรี ไม่มีอำนาจ และไม่มีสิทธิทางสังคมเท่าเทียมคนอื่น ปัจจุบันทั้งประเทศอินเดียและประเทศญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายยกเลิกวรรณะจัณฑาลและบูราคูแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีการกีดกันอยู่ความแตกต่างภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันนี้ ถือเป็นรูปแบบความแตกต่างทางชาติพันธุ์รูปแบบหนึ่ง

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1. ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
2. ที่ตั้ง มนุษย์อาศัยอยู่ตามที่ตั้งต่างๆกันไป อาจเป็นบนภูเขาหรือในที่ราบลุ่มประเพณีต่างๆ จะเกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตของหมู่ชนปรับเข้ากับที่ตั้งนั้นได้
3. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น มนุษย์จะมีลักษณะนิสัยค่านิยม ตลอดจนแบบแผนในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันไป ตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ หรือความแร้นแค้น
4. กลุ่มชนแวดล้อม กลุ่มชนแวดล้อมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง
5. นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน

01/24/15

การเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปะกับการเข้ามาของโลกออนไลน์

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้ การใช้สื่อทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและความสำคัญในชีวิตของเราทุกด้าน ศาสตร์ทุกศาสตร์เชื่อมกับเทคโนโลยีและได้รับการออกแบบพัฒนาอย่างต่อเนี่อง หากแต่ในขณะเดียวกัน สื่อทางเทคโนโลยียังมีการเปิดช่องทางสำหรับผู้ด้อยโอกาสน้อยมากโดยเฉพาะด้านการสร้างผลงานศิลปะและงานออกแบบ
ทางสาขาการออกแบบมัลติมีเดีย

ศิลปะเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ แสดงออกจากความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ จาก มโนภาพที่ได้จากความจริงหรือจากจินตนาการที่คิดฝันขึ้น โดยใช้ภาษาของศิลปะเป็นสื่อกลางให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในอุดมการณ์นั้น งานศิลปะที่มีคุณค่าจึงสร้างสรรค์ขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ต้องใช้สติปัญญาอันสูงส่งจนเชื่อกันว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีสติปัญญาจนถึงขั้นที่สามารถจะแก้ปัญหาสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ทำให้ผลงานมีวิวัฒนาการเจริญต่อเนื่อง ศิลปะเป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ รวมทั้งลักษณะความชำนาญของมนุษย์ ศิลปะจึงเป็นฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางเทคนิค ในการสร้างสรรค์และการแสดงออกของความคิดศิลปะจึงมีความหมายถึงการทำให้วิจิตรพิสดารต่าง ๆ รวมทั้งการใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่องานศิลปะ ทั้งทางแนวคิด สุนทรียะ วัฒนธรรมการแสดง รวมทั้งการเสพ ดังเช่นเทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีการบันทึกภาพและเสียง หรือเทคโนโลยีด้านการขยายเสียง ที่เคยเปลี่ยนแปลงวงการหนังสือ หนัง และเพลงอย่างมหาศาลมาแล้วในอดีต เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีอย่างอินเทอร์เน็ต ที่นำความเป็นไปได้แบบใหม่มาสู่ผู้คนและวงการนี้เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่อินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อวงการศิลปะวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมในวิถีชีวิตผู้คนยุคปัจจุบัน อันได้แก่ หนัง เพลง และหนังสือ ซึ่งเป็นการพยายามมองหรือทำความเข้าใจกิจกรรมในโลกออนไลน์หรือสังคมอินเทอร์เน็ตให้กว้างไปจากเดิม และเฉพาะเจาะจงขึ้น

ในหลายครั้งที่ผ่านมา การพยายามทำความเข้าใจนี้ ได้ใช้การนำเอาคุณค่าหรือมุมมองแบบเก่ามารองรับหรือสวมทับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกออนไลน์ โดยยังไม่ได้ตั้งคำถามหรือพยายามทำความเข้าใจที่มาของคุณค่าที่นำมาสวมทับให้ดีก่อน จนบางครั้งทำให้เกิดปัญหาต่อการทำความเข้าใจ (เช่นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา)

12/10/14

เทคโนโลยีวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายบนความหลายหลาก

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมภายใต้ระบบทุนนิยมโลกถือเป็นหัวใจสำคัญของโลกานุวัตร ระบบการสื่อสารช่วยส่งผ่านประสบการณ์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม วัตถุนิยมจากสากลมาผนวกรวมเข้ากับท้องถิ่น ก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม และระบบคุณค่าต่างๆในสังคมไทย ลักษณะของโลกานุวัตรก่อให้เกิดความฉาบฉวยชั่วแล่น ทั้งในแง่ของรสนิยมการบริโภคและการใช้ชีวิต อีกทั้งยังทำให้บางสิ่งบางอย่างเลือนหายไปจากจิตสำนึกของบุคคล อาทิ ความรู้สึกสงบ ความต่อเนื่องมั่นคง ความผูกพันที่ลึกซึ้งกับผู้อื่น รวมถึงความผูกพันกับเวลาและสถานที่และผลของมันก็คือ การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการมองความจริง เปลี่ยนแบบแผนในการใช้ชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล และเปลี่ยนแบบแผนประเพณีต่างๆที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมา

วัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในรูปของพฤติกรรม  ศิลปะ ขนบธรรมเนียม หรือความเชื่อเท่านั้น แต่วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจสามารถกระทำการสร้างอำนาจหรือความชอบธรรมไดด้วย ในช่วงสมัยที่มารช่วงชิงอำนนาจเพื่อครอบงำระชากรโลก วัฒนธรรมคือกลไกในการเผยแพร่อุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี  แต่ในสมัยที่ความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจลดความสำคัญลง สิ่งที่ปรากฎให้เห็นเด่นชัดคือ การลดความสำคัญของวัฒนธรรมรัฐชาติ วัฒนธรรมกลุ่มย่อยต่างๆ  ปราะกฎรูปแบบชัดเจนมากขึ้น  จนเกิดการยอมรับความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมอาจจะมีความแตกต่างกันได้ทั้งในระดับแนวนอนและแนวตั้ง โดยสาระแล้ว ความแตกต่างที่แท้จริงก็คือ ระหว่าง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมที่เป็นไปตามแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความถึงความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (ความเสมอบ่า เสมอไหล่ทางวัฒนธรรม) กับ วัฒนธรรมที่มีสูงกว่ากับวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าแต่อย่างใด แต่ในความหมายของวัฒนธรรมที่รู้หรือยอมรับกันในระดับหนึ่ง  กับวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายๆ ระดับและหลากหลายสัมพันธภาพ ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีความหมายลึกถึงการใช้ทรัพยากรที่ต่างกัน มนุษย์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยน และมีทางเลือกตลอดเวลา เพราะคำตอบเก่าไม่สามารถใช้ได้ชั่วกัลปาวสาน ต้องปรับคำตอบใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น สังคมใดที่ขาดความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจจะไม่สามารถที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้ แล้วจะต้องล่มสลายไปในที่สุด หรือไม่ก็จะต้องไปเลือก ซึ่งไม่เหมาะกับสังคมตนเองมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงการมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะประพฤติปฏิบัติตามใจตนเอง จนส่งผลให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างขาดความสมดุล  แต่หมายถึงการยอมรับและอยุ่ร่วมกันบนพื้นที่แห่งความหลากหลายทางความคิดและการดำรงชีวิต (livelihood) ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้ “อนุวัฒนธรรม” เป็นเพียงตัวประกอบในวัฒนธรรมกระแสหลักเท่านั้น  ดังนั้นการสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมเป็นการสร้างฐานรากที่สำคัญของมิตรภาพและความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชาติ  ในโลกที่มีการติดต่อสัมพันธ์ด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว จะต้องเสริมความเข้าใจระหว่างกันด้านความคิด วิถีชีวิต จารักและค่านิยมที่ยังหลากหลายมากในโลกปัจจุบัน

11/28/14

“ศิลปะไทย” กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่

ศิลปะไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย เมื่อเราได้สืบค้นความเป็นมาของสังคมไทย พบว่าวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคมหนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทย

ปัจจุบันคำว่า “ศิลปะไทย” กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

เมื่อเราหันกลับมามองตัวเราเองใหม่ ทำให้ดูห่างไกลเกินกว่าจะกลับมาเรียนรู้ว่า พื้นฐานของชาติบ้านเมืองเดิมเรานั้น มีความเป็นมาหรือมีวัฒนธรรมอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้เราลืมมองอดีตตัวเอง การมีวิถีชีวิตกับสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าเรามีปัจจุบันโดยไม่มีอดีต เราก็จะมีอนาคตที่คลอนแคลนไม่มั่นคง การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยเราชาวศิลปะต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต

10/25/14

ศิลปะแทบทุกแขนงของไทยถูกสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางศาสนา

ศิลปินในอดีตสร้างงานเพื่อรับใช้สถาบันและมีสถานะเปรียบเสมือนฐานันดรพิเศษที่ถูกอุ้มชูโดยชนชั้นสูง แต่เมื่อศิลปินหยุดสร้างงานศิลปะเพื่อปัจเจกบุคคล จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ศิลปะจะต้องอุ้มชูตัวเอง แต่ด้วยปัญหาจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทย ยังไม่มีพื้นฐานการบริโภคศิลปะในระดับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการบริโภคศิลปะเพื่อเป็นอาหารของจิตใจ จึงทำให้ศิลปะบางแขนงอยู่นในสภาพที่ต้องต่อสู้อย่างหนัดเพื่อความอยู่รอด

และหากมองย้อนไปถึงจุดเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดของการสร้างสรรค์ศิลปะในประเทศไทย อันเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการแบ่งแยกศิลปะออกเป็นแบบประเพณีและแบบร่วมสมัย ก็จะพบว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อัน้เป็นช่วงเวลาที่การล่าอาณานิคมกของชาติตะวันตกในเอเชียอาคเนย์กำลังเฟื่องฟู

เพื่อเป็นการลบล้างภาพลักษณ์ป่าเถื่อน อันเป็นข้ออ้างส่วมมากในการกลืนประเทศต่างๆ ของตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงดำเนินกุศโลบายอันแยบคาย ด้วยการสร้างอารยธรรมใหม่ขึ้นในสยาม ถือเป็นการเข้ามาอย่าง “เต็มตัว” ของศิลปกรรมตะวันตกและแบ่งตัวออกจากศิลปะดั้งเดิมอย่างชัดเจน

นอกจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกแล้ว รัชกาลที่ 4 ยังทรงแนะนำให้ศิลปินไทย สร้างงานตามแนวคิดทางจิตรกรรม ประติมากรรม แฟชั่น รวมถึงดนตรีตามแบบตะวันตกอีกด้วย ดังโปรดให้มีการสร้างพระที่นั่งแบบยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานพระราชดำริให้ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกแห่งยุควาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถสัดบวรนิเวศวิหารตามอย่างจิตรกรรมแนบตะวันตก โปรดให้หล่อพระบรมรูปเหมือนพระองค์เพื่อส่งไปตอบแทนพระราชไมตรีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการสร้างรูปเหมือนบุคคลครั้งแรกของสยาม ไปจนถึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมที่ตามเสด็จประพาสแต่งกายอย่างทหารสก็อตแลนด์ เป็นต้น

“ศิลปะใหม่” ในเวลานั้น จึงกลายเป็นสินค้าต้นเค้าของศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลต่อมา จนกระทั่งหยั่งรากลงเสมือนศิลปะเพื่อความเป็นอารยะของสยามประเทศในที่สุด ก่อนจะมีการวางรากฐานครั้งใหญ่าในด้านการศึกษาและเผยแพร่ศิลปะหลังจากการเข้ามาของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา

ศิลปะแทบทุกแขนงของไทยในยุคก่อนที่จะก้าวสู่ยุคใหม่ ถูกสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางศาสนา แต่เมื่อมีศิลปะแนวใหม่ที่สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจและความคติดสร้างสรรค์ของปัจเจกบุคคลเข้ามาทำหน้าที่เสมือนโครงสร้างใหม่ให้กับวงการศิลปะในประเทศไทย มุมมองและวิธีคิดในการสร้างสรรค์จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงจากแนวศิลปะแบบประเพณีนิยมเพื่อศาสนามาเป็นศิลปะของบุคคลแต่ละคน ซึ่งก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากการที่จุดหักเหดังกล่าวมีอิทธิพลของศิลปะตะวันตกเข้ามาครอบงำอย่างชัดเจน

09/20/14

มรดกโลกทางวัฒนธรรมในอาเซียนและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม


หากจะพูดถึง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASCC คงน้อยคนนักที่จะรู้จัก และเข้าใจถึงความหมายของ ASCC อย่างแท้จริง เมื่อเทียบกับคำฮอตฮิตติดหู อย่างคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ “AEC” ทั้งนี้ เมื่อจะต้องทำความเข้าใจกับคำว่า “ASEAN Community” แล้วนั้น ASEAN Community ซึ่งถือเป็นการบูรณาการร่วมกันในระดับภูมิภาค หรือภูมิภาคนิยม ซึ่งเป็นการรวมตัวกันภายใต้ภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เกิดขึ้น ภายใต้สามเสาหลัก คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมความมั่นคงอาเซียน และเสาหลักสุดท้าย ก็คือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่มีความสำคัญ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน การเป็นเอกภาพร่วมกัน ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันภายใต้สังคมที่เอื้ออาทร มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน รวมถึงเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็น ทางการในปี 2015 นั้น สอดคล้องกับ Motto หรือคำขวัญของอาเซียน คือ One Vision, One Identity, One Community

พหุวัฒนธรรม : กับการรวมตัวของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)
หากจะตั้งคำถามว่า ASCC สำคัญอย่างไร  จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คำตอบที่ได้ก็ย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย มีความสำคัญมากน้อย แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมอง หรือความคิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่เมื่อเรากลับมาฉุกคิดถึงแนวคิดของการรวมตัวดังกล่าว ก็จะพบว่า เราจะสร้างประชาคมอาเซียนอย่างไร ถ้าเรายังมีความแตกต่างกัน การรวมกันของประเทศต่าง ๆ ทั้งสิบประเทศที่แตกต่างกันทั้งเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ และการขยายจำนวนสมาชิกของอาเซียนจนครบสิบประเทศในปัจจุบัน สำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ASEAN : การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
สำหรับการเกิดขึ้นของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ย่อมถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ในทัศนะของผู้เขียน มองว่า กระบวนการดังกล่าวจะสามารถขยายความร่วมมือ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจำเป็นจะต้องอาศัยกระบวนการการเชื่อมโยงร่วมกัน คือ ASEAN Connectivity ภายใต้การเชื่อมโยงของประชาชนร่วมกัน “People to People Connectivity” ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเดินทาง การท่องเที่ยว การไปมาหาสู่ระหว่างกันระหว่างประชาชน การเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนธรรม ถือเป็นหัวใจของการเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศต่าง ๆ จะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องชาติพันธุ์ ภาษา วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ มีลักษณะเหมือนหม้อใบใหญ่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายความแตกต่าง มีลักษณะของความเป็นพหุสังคมสูง แต่ภายใต้ความหลากหลายเหล่านั้น กลับมีต้นรากทางวัฒนธรรม หรือมีทุนทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นการง่ายที่จะเชื่อมโยงกันได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของชาวอาเซียน

08/27/14

ความเป็นมาของวัฒนธรรมออสเตรเลียและความชอบงานศิลปะต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

วัฒนธรรมออสเตรเลียมีพื้นฐานอยู่บนเรื่องราวของนักต่อสู้ เจ้าหน้าที่ดูแลป่า และทหารผู้กล้า  เรื่องราวของวีรบุรุษนักกีฬา วีรบุรุษนักทำงาน และนักอพยพผู้กล้า  ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องของความเสมอภาค ชีวิตกลางแจ้งอันวิเศษ และการมีน้ำใจต่อผู้ถูกเย้ยหยัน  ปัจจุบัน ออสเตรเลียยังนิยามตัวเองว่าเป็นมรดกของชาวอะบอริจิน การผสมผสานทางวัฒนธรรมอันมีสีสัน นวัตกรรมทางความคิด และแหล่งศิลปะอันรุ่งเรือง

ยุคความฝัน Dreamtime คือ ห้วงเวลาก่อนการเกิดเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการสร้างโลก  ตามความเชื่อของชาวอะบอริจิน บรรพบุรุษวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ได้ขึ้นมาจากใต้พื้นโลก และลอยลงมาจากฟากฟ้าเพื่อปลุกโลกที่มืดมนและเงียบงันให้ตื่นจากหลับไหล  พวกเขาสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ หลอมรวมบรรดาภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ และแอ่งน้ำทั้งหลายเข้าด้วยกันจนอยู่ในรูปมนุษย์และสัตว์  บรรพบุรุษวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เชื่อมโยงอดีตกาลโบราณนี้เข้ากับปัจจุบันและอนาคตผ่านทุกแง่มุมของวัฒนธรรมอะบอริจิน  ศิลปะการเขียนภาพบนหิน งานฝีมือ และงานเขียนสีบนเปลือกไม้ แสดงให้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับยุคความฝัน แสดงขอบเขตดินแดน และบันทึกประวัติศาสตร์ ในขณะที่บทเพลงต่าง ๆ บอกถึงการเดินทางในยุคความฝัน โดยแสดงแหล่งน้ำและสถานที่สำคัญ ๆ ไว้เป็นคำพูด  บทกวีพิเศษของพวกเขาได้รับการสืบสานเรื่อยมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงนับเป็นเวลาอย่างน้อย 50,000 ปี และบ่อยครั้งจะประกอบด้วยเสียงเคาะไม้ให้จังหวะ หรือเสียงทุ้มต่ำของขลุ่ยไม้ดิดเกอร์ริดู ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ ระบำพื้นเมืองเผยให้เห็นตำนานการสร้าง แสดงการกระทำของวีรบุรุษแห่งยุคความฝัน และแม้แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้

ชาวออสเตรเลียมีความรักในศิลปะอย่างเงียบ ๆ  เราพากันไปชมภาพยนตร์ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมตามหอศิลป์และเวทีการแสดงมีมากเกือบเป็นสองเท่าของจำนวนผู้เข้าชมฟุตบอล  เมืองใหญ่ ๆ ของเราเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลทางวัฒนธรรมที่สำคัญหลายเทศกาล เมืองเหล่านี้จัดการแสดงดนตรี ละคร เต้นรำ และงานแสดงผลงานศิลปะทุกวันตลอดสัปดาห์  ชมการแสดงเต้นรำพื้นเมืองของชาวอะบอริจินโดย Bangarra Dance Theatre สนุกสนานกับงานเทศกาลดนตรีนานาชาติ WOMADelaide International Music Festival ในเมืองแอดิเลด และดื่มด่ำกับวัฒนธรรมด้วยการชมละครเวที บัลเลต์ อุปรากร และภาพวาดในศูนย์วัฒนธรรมขนาดใหญ่ย่านเซาท์แบงก์ของเมืองบริสเบรน  ในเมืองขนาดเล็ก คุณสามารถดูการแสดงของนักดนตรีพื้นเมือง และชมงานศิลปะและงานประดิษฐ์ที่ทำด้วยมือได้

07/19/14

การปรับเข้าสู่วัฒนธรรมโลก รับมือกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย

กระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่หมายถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมสากลโลกนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนทั้งโลกจะมีวัฒนธรรมเพียงชุดเดียว  มนุษย์เราต้องการเอกลักษณ์และความเฉพาะตัว  มีรากเหง้า เชื่อว่าการบริหารจัดการสังคมสมัยที่ซับซ้อนหลากหลายและมีพลวัตรคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสังคมวัฒนธรรม  ในการตอบสนองต่อสังคม  รัฐต้องสามารถแทรกแซงและจัดการความขัดแย้งทางสังคมการเมืองได้  วิธีการจัดการนี้เรียกว่า governance ซึ่งแตกต่างจาก governing ตามที่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดการโดยคณะบุคคลแยกต่างหากจากสังคมโดยรวม  ดังนั้นในกระบวรการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  ความต้องการในสังคมมีอย่างน้อย 2 ระดับ  ในระดับสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนและกำกับทิศทาง ในระดับปัจเจก คือ ความจำเป็นที่จะต้องมีเสรีภาพ อิสระ และการมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว องค์ประกอบของการบริหารจัดการที่ดีใน 2 ระดับนี้คือความสมดุลระหว่างองค์ประกอบส่วนสาธารณะและส่วนปัจเจกบุคคล

แนวคิด ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  มีความเกี่ยวข้องและทับซ้อนกับแนวคิด คือ เมื่อเกิดกระแสโลกาภิวัตน์นั้นได้เกิดแนวคิดหรือกระแสที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและการรักษาษาความหลากหลายวัฒนธรรมให้คงอยู่ด้วยการเกิดคู่ตรงข้ามของโลกาภิวัตน์คือ ท้องถิ่นนิยม และแนวคิดของอัตลักษณ์ ดังนั้นศึกษาวัฒนธรรมจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจวัฒนธรรมภายใต้กรอบของการเปลี่ยนแปลงและการก้าวพ้นออกจากพื้นที่และเวลา  เชื้อชาติ  ศาสนา  ภาษาและพรมแดนรัฐชาติในอดีต

วัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในรูปของพฤติกรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียม หรือความเชื่อเท่านั้น แต่วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจสามารถกระทำการสร้างอำนาจหรือความชอบธรรมไดด้วย ในช่วงสมัยที่มารช่วงชิงอำนนาจเพื่อครอบงำระชากรโลก วัฒนธรรมคือกลไกในการเผยแพร่อุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี แต่ในสมัยที่ความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจลดความสำคัญลง สิ่งที่ปรากฎให้เห็นเด่นชัดคือการลดความสำคัญของวัฒนธรรมรัฐชาติ วัฒนธรรมกลุ่มย่อยต่างๆ ปราะกฎรูปแบบชัดเจนมากขึ้น จนเกิดการยอมรับความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมอาจจะมีความแตกต่างกันได้ทั้งในระดับแนวนอนและแนวตั้ง โดยสาระแล้ว ความแตกต่างที่แท้จริงก็คือระหว่าง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมที่เป็นไปตามแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความถึงความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (ความเสมอบ่า เสมอไหล่ทางวัฒนธรรม) กับ วัฒนธรรมที่มีสูงกว่ากับวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าแต่อย่างใด แต่ในความหมายของวัฒนธรรมที่รู้หรือยอมรับกันในระดับหนึ่ง กับวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายๆระดับและหลากหลายสัมพันธภาพ ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีความหมายลึกถึงการใช้ทรัพยากรที่ต่างกันมนุษย์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยน และมีทางเลือกตลอดเวลา เพราะคำตอบเก่าไม่สามารถใช้ได้ชั่วกัลปาวสานต้องปรับคำตอบใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น สังคมใดที่ขาดความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจจะไม่สามารถที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้ แล้วจะต้องล่มสลายไปในที่สุด หรือไม่ก็จะต้องไปเลือก ซึ่งไม่เหมาะกับสังคมตนเองมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงการมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะประพฤติปฏิบัติตามใจตนเอง จนส่งผลให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างขาดความสมดุล  แต่หมายถึงการยอมรับและอยุ่ร่วมกันบนพื้นที่แห่งความหลากหลายทางความคิดและการดำรงชีวิต (livelihood) ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้ “อนุวัฒนธรรม” เป็นเพียงตัวประกอบในวัฒนธรรมกระแสหลักเท่านั้น ดังนั้นการสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมเป็นการสร้างฐานรากที่สำคัญของมิตรภาพและความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชาติ  ในโลกที่มีการติดต่อสัมพันธ์ด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว  จะต้องเสริมความเข้าใจระหว่างกันด้านความคิด วิถีชีวิต จารึกและค่านิยมที่ยังหลากหลายมากในโลกปัจจุบัน

06/23/14

การเรียนรู้ศิลปะทางสังคมและวัฒนธรรมของโลกต่างๆ

11

เมื่อพิจารณาศิลปะร่วมสมัยแบ่งออกเป็นประยุกต์ศิลป์และวิจิตรศิลป์จะเห็นว่า การดำรงอยู่และการพัฒนาของประยุกต์ศิลป์หลายแขนงในยุคสมัยต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุผลจากความต้องการใช้สอยเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก รวมถึงเหตุผลทางธุรกิจ กลไกตลสาด อุปสงค์และอุปทาน ในขณะที่งานวิจิตรศิลป์บางแขนงกำลังประสบปัญหาด้านความอยู่รอด ทั้งความอยู่รอดของศิลปินและความอยู่รอดของตัวศิลปะเอง เงื่อนไขเชิงคุณค่า ทำให้กรอบวิวัฒนาการของประยุกต์ศิลป์กับวิจิตรศิลป์นั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะประยุกต์ศิลป์ เช่น สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ เรขศิลป์ แฟชั่น หรืองานศิลปะในสาขาอื่นใดที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้สอย มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเป็นตัวกำหนดรูปแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ลัทธิความเชื่อ ค่านิยม ร่วมกับปัจจัยทางภายภาพและศาสตร์อื่นๆ เช่น หลัก สรีรศาสตร์ ประชากรศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุดควบคู่ไปกับการสร้างสุนทรียะให้กับผู้เสพ ในขณะที่การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจของศิลปินเป็นหลัก และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงสั่นสะเทือนทางอารมณ์ความคิดของผู้เสพเป็นสำคัญ

หากจะตั้งสมมุติฐานว่า เหตุผลที่ทำให้ศิลปะดำรงอยู่เพื่อจรรโลงสังคมในสถานะที่พึ่งพิงตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นวิจิตรศิลป์หรือประยุกต์ศิลป์ก็ตาม นั่นคือศิลปะนั้นจะต้องเป็นที่ต้องการหรือต้องรสนิยมของผู้เสพ ซึ่งอาจหมายถึงความต้องการทางด้านการใช้สอย หรือความต้องการทางด้านจิตใจ จึงเป็นหนน้าที่ของศิลปินที่จะต้องแสวงหาความอยู่รอดของตัวเอง ภายใต้เงื่อนไขความเป็นจริงต่างๆ ในสังคม ณ ยุคสมัยของตน ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ทั้งในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ สังคม หรือค่านิยมความเชื่อและความรู้ความเข้าใจของประชาชน การวางพื้นฐานการรับรู้ที่สังคมจะมีต่องานศิลปะ เพื่อให้การเปิดรับและหากมองในเชิงการตลาด ก็หมายถึงกระบวนการในการการสร้างความต้องการบริโภคให้เกิดขึ้นนั่นเอง แม้ว่าความต้องการบริโภคจะเป็นดาบสองคมที่นำไปสู่ระบบการผลิตซ้ำ เพื่อให้เกิดงานที่ขายได้ อันจะส่งผลให้ศิลปินขาดแคลนแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์อันบริสุทธิ์ในการสร้างสรรค์งานซึ่งเป็นตัวทำลายคุณค่าของศิลปะในเวลาเดียวกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากศิลปินไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ งานศิลปะก็จะไม่เกิดขึ้น